เมนู

เรื่องความหลอกลวง 3 อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ
แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า
ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้นไม่หลอกลวง.
[398] ตัณหา เรียกว่า ความทะเยอทะยาน ในคำว่า ผู้ไม่
ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่
ได้แก่ ความกำหนัด ฯลฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ความทะเยอทะยานนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ
แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า
ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจรูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ
สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต
ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง
เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน.

ว่าด้วยความคะนอง 3 อย่าง


คำว่า ผู้ไม่ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ 5 อย่าง คือความ
ตระหนี่ที่อยู่ 1 ความตระหนี่สกุล 1 ความตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่
วรรณะ 1 ความตระหนี่ธรรม 1 ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความ
เป็นผู้ตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ ความเหนียวแน่น ความเป็น
ผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใคร ๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้
เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่.

อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความ
ตระหนี่อายตนะก็ดี นี่เรียกว่าความตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความ
ตระหนี่ ความตระหนี่นั้นอันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ
ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่
ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่.

ว่าด้วยความคะนอง 3 อย่าง


[399] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่
รังเกียจ
ได้แก่ ความคะนอง 3 อย่าง คือความคะนองทางกาย 1 ความ
คะนองทางวาจา 1 ความคะนองทางจิต 1.
ความคะนองทางกายเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้อยู่ใน
สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำ
ก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดง
ความคะนองทางกาย.
ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็น
เถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้า
บ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง (ไม่ก้ม)
พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกาย
อย่างนี้.
ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัย อยู่ในคณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระ